วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่ม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่ม เกาะเกร็ด







  •  เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง ภาชนะและเครื่องมือที่ทำจากดินรูปทรงต่างๆตามความต้องการใช้ดินเหนียวและดินขาวหรือดินชนิดต่างๆในการทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผานั้นสามารถบ่งบอกความเป็นมาของมนุษย์อันยาวนานบอกวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตแลผลงานต่างๆที่เกิดขึ้นลวดลายล้วนมากจากสมองของช่างฝีมือที่เกิดขึ้นในกลุ่มหมู่บ้านหรือจังหวัดนั้น เราพบเครื่องปั้นดินเผานี้มาก่อนยุคประวัติสาสตร์ เครื่องปั้นดินเผาก่อนยุคประวัติศาสตร์ คือเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง (อายุประมาณ5,600 1,800 ปี) มีทั้งหมด 3 สมัย คือ สมัยต้น สมัยกลาง และสมัยปลายและอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจคือเครื่องปั้นดินเผาทางชาวมอญ เครื่องปั้นดินเผาทางชาวมอญมีภูมิปัญญามรดกตกทอดมากว่า 200 ปีแล้ว เป็นชุมชนมอญที่อาศัยอยู่ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หรือเรียกได้ว่าเกราะเกร็ดอย่างที่ทุกคนรู้จักกันดีในปัจจุบัน ทรัพยากรดินที่สามารถขุดเองได้และผสมกับภูมิปัญญานั้นทำให้เครื่องปั้นดินเผาชาวมอญเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะการสร้างสรรค์ผลงานจากดินมากมาย มีความสวยงามทำให้ชาวมอญส่วนใหญ่ก็ยึดอาชีพในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพหลักและสืบสานให้ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน 




ทางด้านนี้คือบ่อพักดินค่ะ










และทางด้านนี้คือเตรียมพร้อมค่ะ






ป้าตุ่มบอกว่า... "เครื่องปั้นดินเผานั้นมาจากชาวมอญหนึ่งในนั้นก็คือบ้านป้าตุ่มที่เกราะเกร็ดเปิดให้เข้าชมกัน หนึ่งวันนั้นช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาจะปั้นได้ประมาณ   100 – 400 ใบต่อวัน และต่อช่าง 1 คน  การปั้นเครื่องปั้นดินเผานั้นไม่ใช่ง่ายกว่าจะปั้นให้เป็นรูปร่างและกว่าจะเริ่มขึ้นลายให้สวยงาม และเราจะมีบ่อในการพักดิน ดินที่ใช้ก็คือดินเหนียวที่ใช้การปั้น สมัยก่อนนั้นสามารถขุดกันหน้าบ้านได้เลย


    แต่เดียวนี้จำเป็นจะต้องซื้อดินมากจากจังหวัดปทุมธานี สามโคก ขนส่งทางเรือร่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บ่อที่บ้านของป้าตุ่มได้เท่ากับดิน 1 ลำเรือ เป็นราคา 13000 บาท พอได้ดินเหนียวมาต้องทำหมัก ย่ำ หลายขั้นตอน จากนั้นเราจะนำดินเข้าเครื่องนวดผสมทรายผสมน้ำ และทำเป็นแท่งก้อนยาวๆ แต่ที่เห็นกันนั้นคือลายของชาวเกราะเกร็ดคือหม้อน้ำเมืองนนท์ แต่ละลายใช้มีดปลายแหลมเป็นการแกะสลัก เครื่องเผาก็ใช้อุณหภูมิของผู้เฝ้าไม่มีการวัดใดๆ ทั้งสิ้น"
  

ก่อนที่เรานำไปแกะสลักต้องนำมาหุ้มด้วยถุงพลาสติกก่อนเพื่อไม่ให้ดินแข็ง
                                                         
แท่นปั้น

เครื่องนวดดินที่ผสมเรียบร้อยแล้ว


ช่างกำลังลงลวดลาย



             ทางด้านนี้ก่อนที่จะเป็นสีดำต้องนำไปอบกับแกรบข้าวเปลือก


่้
เครื่องน้ำหอมและที่ใส่เครื่องปรุงรส




และที่คือสิ่งที่หน้าสนใจหม้อน้ำลายวิจิตรหรือหม้อน้ำเมืองนนท์
และยังเป็นที่น่าภูมิใจของชาวเมืองนนท์ เพราะลายวิจิตรเป็นสัญลักษณ์ของการแกะสลักเมืองนนท์นั้นเอง









นี่คือเตาเผาที่ใช้เผาเครื่องปั้นทุกชิ้น ใช้เวลาในการเผา 3 วันเลยค่ะ กว่าจะได้เป็นเครื่องปั้นดินเผาต่างๆที่เราได้เห็นกัน



นี่คือข้อมูลที่ทางบ้านป้าตุ่มได้มรการแปะไว้เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม








และถ้าใครสนใจเครื่องปั้นดินเผาสวยๆนี้ เชิญได้ที่ เกาะเกร็ด ที่บ้านของป้าตุ่มได้ทุกวันนะค่ะ และวันเสาร์ - อาทิตย์ บ้านป้าตุ่มยังมีสอนปั้นให้นักท่องเที่ยวทุกคนด้วยค่ะ


บรรยากาศโดยร่วมที่บ้านป้าตุ่มเกาะเกร็ด


วิธีการแกะสลัก



พี่อุ้ยลูกสาวของป้าตุ่มค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้แก่เราค่ะ

ขอขอบคุณ
 โรงงานเครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่ม ที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.

1 ความคิดเห็น: